โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontics) คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้า ๆ ทุกวันจนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด โรคนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า โรครำมะนาด มีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ
โรคปริทันต์อักเสบ เป็นโรคเรื้อรังที่มีการทำลายเนื้อเยื่อเหงือกและกระดูกเบ้าฟันอย่างต่อเนื่องโดยเราไม่รู้ตัว อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกได้คือเหงือกบวม มีเลือดออกภายหลังการแปรงฟัน เจ็บเหงือกเวลาเคี้ยวอาหารในบางครั้ง ฟันโยก มีเหงือกบวมเป็นหนองในกรณีที่เป็นโรครุนแรงมาก ๆ มีกลิ่นปาก ฟันยื่นยาวหรือแยกกันเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้จนต้องมาให้ทันตแพทย์ถอนออก
“เชื้อแบคทีเรีย” คือตัวการ และสาเหตุก็ เริ่มต้นจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ คราบอาหารตกค้างทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย ที่เราเรียกกันว่า “แผ่นคราบจุลินทรีย์” (Plaque) เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะเกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุจาก น้ำลาย และน้ำที่อยู่ในร่องเหงือก จนกลายเป็น “หินน้ำลาย” หรือ “หินปูน” เจ้าเชื้อแบคทีเรีย จะสวมบทผู้ร้ายเป็นตัว กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ ผลคือทำให้ เหงือกอักเสบ บวมแดง มีเลือดออก และหากเป็นมาก อาจทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีอาการไม่ว่าจะอย่างใด อย่างหนึ่งข้างต้น ควรมาพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการ ตรวจรักษา หากทิ้งไว้นานอาจมีปัญหาฟันโยกถึงขั้น ต้องสูญเสียฟันได้
การรักษาจะเริ่มต้นด้วยการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) คือการทำให้ผิวรากฟัน เรียบ เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่เกาะบนผิวรากฟันให้สะอาด ขั้นตอนนี้จะใช้เวลานาน เนื่องจากต้องกำจัดหินปูน และคราบจุลินทรีย์ให้หมด โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ร่องเหงือกลึก ๆ และฟันหลัง ที่มีหลายราก ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ภายหลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดกลับมาดูอาการอีกครั้ง ว่าหายดีหรือไม่ และถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่เนื่องจากมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้อง ได้รับการผ่าตัด (ศัลยปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำได้ในผู้ป่วยที่ดูแลความสะอาด ได้ดีแล้วเท่านั้น
ในบางกรณี สามารถที่จะปลูกกระดูกทดแทนได้ แต่ในบางครั้งก็ไม่อาจทำได้ การผ่าตัดเหงือกจะเป็นการเข้าไปทำความ สะอาดในตำแหน่งที่ลึกและเครื่องมือลงไปทำความสะอาดได้ไม่ถึง
ผู้ป่วยโรคปริทันต์ ควรได้รับการตรวจติดตามผลการรักษา และให้ทันตแพทย์ขูดหินน้ำลายเพื่อ ทำความสะอาดฟันเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้โรคปริทันต์กลับมาอีก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือ การใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากการแปรงฟันที่ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟัน เป็นประจำทุกวัน แต่อย่าเพิ่งกังวลไปนะคะ เพราะโรคปริทันต์ สามารถป้องกันได้ เพียงหันมาใส่ใจและให้ ความสำคัญกับการทำความสะอาดฟันและช่องปาก เลิกสูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่เป็นโรคนี้ก็อย่าเพิ่งวิตกจนเกินไป เพราะหากได้รับการดูแลรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ท่านก็จะมีสุขภาพ เหงือกและฟันดีขึ้น และในบางครั้งผู้ป่วยที่มาพบคุณหมอในครั้งแรก แม้จะยังไม่ได้รับการรักษา เพียงแค่ พูดคุยทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องการทำความสะอาดฟัน รับรองได้ว่าจะมีสุขภาพ เหงือกที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนเชียวค่ะ
สาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้คือ คราบจุลินทรีย์ที่มากับอาหารที่เราทานและน้ำลาย เชื้อแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์เหล่านี้จะสร้างสารพิษมาย่อยเหงือกและกระดูกเบ้าฟันของเรา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุรองที่ทำให้โรคลุกลามมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปัญหาเหงือกมีอยู่ 3 ระยะด้วยกันคือ ปัญหาเหงือกอักเสบ ปัญหาปริทันต์อักเสบ และปัญหาปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง แม้ว่าทันตแพทย์จะสามารถวินิจฉัยปัญหาของคุณได้ แต่คุณก็ควรทราบอาการของปัญหาในแต่ละระยะด้วยเพื่อสังเกตตัวเองและคนในครอบครัวก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย
เป็นปัญหาที่เกิดในระยะแรกและพบได้มากที่สุด แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการของปัญหาเหงือกอักเสบมีดังนี้
ปัญหาเหงือกในระยะนี้เป็นระยะที่ปัญหาเหงือกอักเสบมีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น เราเรียกระยะนี้ว่า “ปัญหาปริทันต์” ปัญหานี้จะทำลายเนื้อเยื่ออ่อนและทำให้สูญเสียกระดูกที่ช่วยพยุงฟัน อาการของปัญหาปริทันต์มีดังนี้
ระยะสุดท้ายของปัญหาเหงือกคือ ระยะนี้จะมีการสูญเสียกระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์ที่รองรับฟันของคุณ เมื่อเกิดอาการดังกล่าวนขึ้นจะทำให้ฟันของคุณโยกและหลุดไปในที่สุด เมื่อถึงระยะนี้ทันตแพทย์อาจต้องใช้วิธีการถอนฟันของคุณทิ้งเพื่อไม่ให้ฟันซี่อื่น ๆ ติดเชื้อเพิ่มเติม อาการของปัญหาปริทันต์ขั้นรุนแรงคือ
ปัญหาปริทันต์เป็นปัญหาที่เรื้อรังและเป็นนาน มีผลกระทบต่อรอยยิ้มที่สวยงามของคุณไปจนถึงต้องเข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมภายในช่องปากหากไม่รักษาแต่เนิ่น ๆ ดังนั้นคุณควรหมั่นสังเกตอาการที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อป้องกันปัญหาปัญหาเหงือกของคุณ แปรงฟันและขัดฟันด้วยไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและทำความสะอาดฟัน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดฟันที่เหมาะสมกับช่องปากของคุณ ให้ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่มเพื่อช่วยถนอมเหงือก รวมถึงใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยฆ่าเชื้อ การขูดหินปูนเป็นระยะตามที่ทันตแพทย์แนะนำก็สามารถช่วยป้องกันปัญหาเหงือกได้
การรักษาโรคปริทันต์อักเสบคือการกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้รวมทั้งกำจัดแหล่งอาศัยของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันทั้งที่อยู่เหนือเหงือกและใต้ขอบเหงือก เพื่อให้ร่างกายมีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไป แต่เนื่องจากสาเหตุของโรคนี้กลับมาสะสมใหม่ทุกวันเมื่อเราทานอาหาร ดังนั้นการป้องกันโรคคือการดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดทุกวันด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ
ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า โรคนี้มีการทำลายทั้งเนื้อเยื่อและกระดูก ร่างกายไม่สามารถสร้างกลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งสาเหตุของโรคกลับมาใหม่ทุกวัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นแล้วเป็นตลอดชีวิตไม่มีวันหายขาด การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันไม่ใช่วิธีการรักษาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการทำความสะอาดฟันโดยทันตแพทย์ การรักษาและป้องกันโรคที่ยั่งยืนเพื่อไม่ให้โรคกลับมาเป็นใหม่ได้เร็วคือการดูแลทำความสะอาดฟันให้ดีอย่างเคร่งครัดทุกวันเพื่อคงสภาพของเหงือกและกระดูกที่เหลืออยู่ให้มีสุขภาพที่ดีตลอดไป การแปรงฟันให้สะอาดในวันพรุ่งนี้ไม่สามารถมาทดแทนการถูกทำลายในวันนี้ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรหันมาดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้และควรพบทันตแพทย์ทุก ๖ เดือนเพื่อรับคำแนะนำและการดูแลอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นอาจจะสายเกินแก้และมาเสียใจในภายหลัง