การทำรากฟันเทียม ถือได้ว่าเป็นการใส่ฟันเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด อีกทั้งช่วยชะลอหรือลดการเสื่อมสลายของกระดูกรองรับรากฟันได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางทันตกรรมมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ลดความยุ่งยาก ขั้นตอนและระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาลงอย่างมาก ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวมถึงรากฟันเทียมก็มีส่วนช่วยให้ฟันเทียมชนิดถอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่ารากฟันเทียมมีส่วนช่วยในการทำฟันเทียมเกือบทุกกรณี
Implant Body or Fixture (ตัวรากฟัน หรือ ส่วนรากเทียมที่ฝังลงไปในกระดูก)
คือ ส่วนของรากเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู หรือ นอต ที่ฝังจมลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อให้มีการยึดติดกับกระดูกขากรรไกรทำหน้าที่เหมือนรากฟัน
Implant Abutment (แกนรองรับฟันปลอม)
คือ ส่วนยึดต่อระหว่าง Implant Body และส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ ที่ทำจากไททาเนียม หรือ เซรามิค ทำหน้าที่แทนส่วนของตัวฟัน
Crown (ตัวครอบฟัน หรือฟันปลอม) เป็นส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthetic component)
คือ ส่วนของฟันเทียม เช่น ครอบ สะพานฟัน ฟันเทียมถอดได้ที่ยึดกับ Implant Abutment ซึ่งจะใช้กาวทางทันตกรรมยึดหรือสกรู
ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียมทุกราย จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย และ ประเมินอย่างละเอียดโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียม เพื่อความเหมาะสมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งต้องเป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้และความชำนาญ เพื่อที่จะสามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ให้มากที่สุด และมีความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยว รวมถึงขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือกำลังรับประทานยารักษาโรคอื่น ๆ อยู่ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ และสิ่งที่สำคัญผู้ป่วยควรดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีก่อนเข้ารับการรักษาทำรากฟันเทียมด้วย ที่ AB Dental Studio ทันตแพทย์จะทำการถ่ายเอ็กซเรย์สามมิติ (CT SCAN) บริเวณที่จะฝังรากเทียมก่อนทุกครั้ง เพื่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาที่แม่นยำ คนไข้จึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับการรักษาที่ปลอดภัยมากที่สุด
รากฟันเทียม ทำมาจากไททาเนียมซึ่งมีความคงทนมาก อายุการใช้งานจะอยู่ที่การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย รากฟันเทียมไม่ผุแต่เกิดโรคเหงือกอักเสบได้หากดูแลได้ไม่ดี การดูแลรักษาก็เหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ คือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ หากทำทุกอย่างได้ดีรากฟันเทียมก็จะอยู่ได้ไปตลอด
โดยปกติการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมจะต้องฉีดยาชาร่วมด้วย ดังนั้นคนไข้จะไม่มีอาการปวดในระหว่างการรักษา แต่หลังจากที่ยาชาหมดฤทธิ์คนไข้จะรู้สึกไม่สบายคล้ายกับการถอนฟันในภายหลัง โดยทั่วไปอาการปวดนี้ระงับได้ด้วยยาแก้ปวดเช่น Ibuprofen 400 mg. หรือ Acetaminophen (Tylenol)