ทันตกรรมทั่วไป

เคลือบฟลูออไรด์

คลินิกทันตกรรม,คลินิกจัดฟัน, คลินิก จัด ฟัน ภูเก็ต, คลินิกทำฟัน ภูเก็ต, dental clinic, dental clinic phuket, phuket dental clinic, dental clinic near me, เช็กสุขภาพฟัน, สุขภาพช่องปาก

อะไรทำให้เสี่ยงฟันผุ?

  • เสี่ยงจากสภาพฟัน เช่น โรคฟันบางประเภทที่มีเกลือแร่ที่เนื้อฟันน้อยทำให้ฟันผุง่าย หรือผู้ที่มีร่องบนฟันมากหรือลึก และผู้ที่เป็นโรคเหงือกร่นก็ทำให้เกิดฟันผุได้ง่ายเช่นกัน
  • เสี่ยงจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Streptococcus mutan และ Lactobasillus ที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดกรดมาทำลายเคลือบฟัน
  • เสี่ยงจากอาหาร อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล เมื่อถูกย่อยแล้วจะกลายเป็นกรด หากฟันสัมผัสกรดเป็นเวลานาน หรือบ่อย ๆ ผิวฟันจะสึกและผุ
  • เสี่ยงจากระยะเวลาที่ฟันเจอกับกรด ตามปกติเมื่อแบคทีเรียย่อยอาหารแป้งและเศษอาหารเหลือ จะทำให้เกิดกรดและมีการละลายของผิวฟัน แต่ปริมาณน้ำลายและเกลือแร่ในน้ำลายจะลดความเป็นกรดและเติมเกลือแร่ให้กับฟัน ดังนั้นเมื่อรับประทานอาหารบ่อย หรือน้ำลายน้อย ทำให้ฟันอยู่ในสภาพที่เป็นกรดนาน ก็จะเสี่ยงต่อฟันผุได้
  • เสี่ยงจากโรคประจำตัวที่ทำให้น้ำลายน้อย เช่น โรคเบาหวาน
  • เสี่ยงจากการรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้น้ำลายน้อยลง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้โรคซึมเศร้า
  • เสี่ยงการพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งเสี่ยงทั้งฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบ

ในเมื่อเรามีความเสี่ยง และสามารถเกิดฟันผุกันได้ง่ายอย่างนี้ การป้องกันฟันผุจึงสำคัญ ซึ่งทางการแพทย์วิธีการป้องกันฟันผุที่ดีที่สุด ก็คือการใช้ฟลูออไรด์มาช่วยป้องกันฟันผุ เพราะฉะนั้นมาเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันฟันผุด้วยฟลูออไรด์หรือการเคลือบฟลูออไรด์กัน

ฟลูออไรด์คืออะไร?

ฟลูออไรด์ เป็นธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีนพบได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ดิน หินแร่ มีสีม่วงอ่อนปนขาว เเละยังเป็นเเร่ธาตุที่พบในอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา ชา อาหารทะเล และผักบางชนิด (ที่พบว่ามีฟลูออไรด์มากคือ กะหล่ำปลี แครอท มะละกอ)

ฟลูออไรด์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในทางทันตกรรมป้องกันฟันผุ จะอยู่ในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ วิตามิน และน้ำยาอมบ้วนปาก เป็นต้น

ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์ใช้ มีกี่ประเภท?

ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์นำมาใช้มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน

  1. ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน ฟลูออไรด์แบบนี้คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยทราบ เราสามารถพบได้ในน้ำดื่ม หรือน้ำปะปา ในต่างประเทศมักจะมีการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่มเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และเรายังพบฟลูออไรด์ชนิดรับประทานได้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ฟลูออไรด์ชนิดเม็ด, ฟลูออไรด์ชนิดน้ำ
  2. ฟลูออไรด์ชนิดเฉพาะที่ ฟลูออไรด์ชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
    • ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์เคลือบในเด็กปกติ ที่ควรได้รับการเคลือบฟันทุก ๆ 6 เดือน ยกเว้นกรณีที่เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย ทันตแพทย์จะพิจารณาเพิ่มความถี่ในการเคลือบฟลูออไรด์ให้บ่อยขึ้น
    • ฟลูออไรด์ที่ผสมในยาสีฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก โดยทั่วไปที่หาซื้อกันได้ในท้องตลาดจะมีฟลูออไรด์อยู่ที่ 1,000-1,500 ส่วนในล้านส่วน ถ้าเป็นยาสีฟันสำหรับเด็กจะมีปริมาณฟลูออไรด์ต่ำกว่า 1,000 ส่วน ซึ่งผู้ปกครองควรดูแลปริมาณยาสีฟันที่เด็กใช้ในแต่ละครั้งให้มีปริมาณขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว หรือใช้แค่เพียงแตะ ๆ แปรงสีฟันเท่านั้น เพราะถ้าเด็กได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจเกิดอาการฟันตกกระได้

ฟลูออไรด์พบได้ที่ไหน ?

ฟลูออไรด์เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน (Fluorine) จึงพบได้ทั้งที่

  • เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งในดิน น้ำ อากาศ หินแร่ และในอาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ พืชผักบางชนิด
  • ผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางทันตกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น ยาเม็ดฟลูออไรด์ ยาน้ำ วิตามิน หรือนมฟลูออไรด์ ที่ควรปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนนำมาใช้ เพื่อกำหนดปริมาณการกินที่ถูกต้อง และยังมีในรูปของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

ทำไมต้องเคลือบฟลูออไรด์

เนื่องจากเคลือบฟันส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของฟัน จะมีการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) และจะมีการคืนแร่ธาตุ (Remineralization) เข้าไปใหม่ในทุก ๆ วัน โดยกระบวนการทั้งสองนี้จะสร้างความสมดุลในตัวของมันเอง แต่หากเราสูญเสียเคลือบฟันในปริมาณมาก จนขาดความสมดุล ฟันของเราก็จะผุได้

การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน ด้วยการเร่งการคืนแร่ธาตุ อย่างฟลูออไรด์ แคลเซียม และฟอสเฟต นอกจากนี้การเคลือบฟลูออไรด์ยังช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ไม่ให้สร้างกรดขึ้นมาทำลายฟันของคุณด้วย

ประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นวิธีการป้องกันฟันผุที่ดีที่สุดทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ใครก็ตามที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุ หรือผู้ที่ต้องการดูแลปกป้องฟันให้มีสุขภาพดี สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ทั้งหมด ถือเป็นการดูแลรักษาฟันที่วงการแพทย์แนะนำ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ทำการเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง ถือว่าสะดวก ปลอดภัย สามารถดูแลฟันให้สวยได้อย่างยาวนาน

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ยังไง

ฟลูออไรด์เมื่อถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะช่วยเสริมสร้างให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนของกรดได้ดี ช่วยลดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดในช่องปากได้ และที่ดีมาก ๆ ก็คือฟลูออไรด์มีผลในการป้องกันโรคฟันผุ ตั้งแต่ฟันกำลังสร้างตัว โดยการที่ฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายจากการกิน และเมื่อฟันขึ้นในปากแล้ว การที่ฟลูออไรด์สัมผัสผิวฟันจะมีกลไกป้องกันโรคฟันผุ ดังนี้

  • ช่วยชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุ และเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน ช่วยยับยั้งการผุของฟัน ซึ่งการยับยั้งด้วยฟลูออไรด์จะทำได้เฉพาะการผุที่เคลือบฟันในระยะแรก ๆ เท่านั้น หากมีการลุกลามจนเกิดเป็นรูผุ ต้องทำการรักษาโดยการอุดฟัน
  • ช่วยเสริมความต้านทานต่อกรดให้แก่เคลือบฟัน โดยเฉพาะหากได้รับด้วยการกินช่วงที่มีการสร้างฟัน จะช่วยให้ฟันผุยากขึ้น
  • จะไปรบกวนกระบวนการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์ ขัดขวางการย่อยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ลดการเกิดกรด ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฟันผุได้

การรับฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ วัยไหนได้ผลดีที่สุด?

ฟลูออไรด์มีความจำเป็นกับทุกเพศทุกวัย แต่ในปริมาณที่แตกต่างกัน

ถ้าเพื่อป้องกันฟันผุในวัยเด็กเล็กจะได้ผลดีที่สุด เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้ดี และลักษณะภายในโครงสร้างฟันยังสร้างตัวได้ไม่เต็มที่ จึงมีโอกาสรับธาตุฟลูออไรด์เข้าไปเสริมในโครงสร้างฟันเพิ่มเติมได้ จึงช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวฟันได้มาก

สำหรับผู้สูงอายุฟลูออไรด์ก็มีผลต่อการป้องกันฟันผุได้เช่นกัน แต่อาจจะน้อยกว่าเด็ก เพราะโครงสร้างฟันสร้างตัวเต็มที่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นการรับฟลูออไรด์ในผู้สูงอายุก็ช่วยป้องกันฟันผุที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ โดยเฉพาะการผุบริเวณรากฟัน ที่พบมากในผู้สูงอายุ

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

ยาสีฟัน

ถ้าต้องการมีสุขภาพฟันที่ดี วิธีป้องกันฟันผุที่ง่ายวิธีหนึ่งคือการเลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ ยกเว้นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ที่ยังไม่แนะนำให้ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ ส่วนเด็กที่อายุ 3-6 ปี ให้เลือกใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์สำหรับเด็ก ซึ่งจะมีปริมาณฟลูออไรด์ต่ำกว่าของผู้ใหญ่ และควรดูแลให้ใช้ในปริมาณแค่เล็กน้อยเท่าเมล็ดถั่ว เพื่อป้องกันการรับฟลูออไรด์มากเกินไปนะคะ

น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์

การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ สามารถป้องกันฟันผุในเด็กที่มีประวัติฟันผุหรือมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุได้ แต่แนะนำให้ใช้กับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป ในกรณีที่ต้องการฟลูออไรด์มากกว่าปกติ ทันตแพทย์อาจจะสั่งจ่าย หรือให้ซื้อน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์สูงกว่าปกติมาใช้

ขั้นตอนการ เคลือบฟลูออไรด์

  1. เริ่มจากทำความสะอาดฟันให้สะอาด หากใช้น้ำยาบ้วนปากหรือเจลที่มีฟลูออไรด์ที่บ้าน ให้แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันก่อน ควรใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก หรือเจลฟลูออไรด์ก่อนนอน เพราะเมื่อหลับฟันจะดูดซึมฟลูออไรด์โดยไม่ถูกชะออกไป
  2. ทันตแพทย์อาจขัดเกลาฟันเล็กน้อยเพื่อกำจัดคราบที่เกาะอยู่บริเวณผิวหน้าฟัน
  3. เลือกใช้ฟลูออไรด์ในการเคลือบฟันให้เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วทันตแพทย์จะเลือกใช้อยู่ 3 ประเภท คือ
    • ฟลูออไรด์เจล (fluoride gel) วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยสามารถป้องกันฟันผุในฟันแท้ได้ประมาณ 28% ในฟันน้ำนม 20%
      วิธีการคือ ทันตแพทย์จะแปรงฟันหรือขัดฟันเด็กให้สะอาด เลือกใช้ถาดฟลูออไรด์ให้เหมาะสมกับจำนวนฟัน แล้วใส่ฟลูออไรด์เจลประมาณ ⅓ ของความสูงของถาด นำถาดมาครอบฟันบนและล่าง แล้วให้เด็กกัดไว้เป็นเวลา 4 นาที ระหว่างนั้นจะดูดน้ำลายออกตลอดเวลา เพื่อป้องกันการกลืนฟลูออไรด์
    • ฟลูออไรด์วานิช (fluoride varnish) วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี และผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง โดยเฉพาะเมื่อมีจุดสีขาว (white spot lesion) ซึ่งเป็นสัญญาณการเริ่มต้นของฟันผุ เมื่อฟลูออไรด์วานิชสัมผัสกับจุดสีขาวบนผิวฟันหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้เกิดผลึกแคลเซียมที่บริเวณผิวเคลือบฟัน ช่วยหยุดรอยผุระยะเริ่มต้นไม่ให้ลุกลามต่อไปได้ สามารถป้องกันฟันผุในฟันแท้ได้ 46% และในฟันน้ำนม 33%
      วิธีการคือ ขัดฟันให้สะอาดและเช็ดฟันให้แห้ง ใช้พู่กันทาฟลูออไรด์วานิชบาง ๆ บนผิวฟัน โดยเน้นที่บริเวณจุดสีขาวบนผิวฟัน ด้านประชิดในซอกฟัน และด้านบดเคี้ยว ที่มีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง หลีกเลี่ยงไม่ให้โดนเหงือกเพื่อลดการระคายเคือง
    • ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (silver diamine fluoride : SDF) สารละลายที่ใช้ทาบนผิวฟันที่ผุแต่ไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน
      วิธีการคือ ใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ หวังผลเพื่อการยับยั้งฟันผุ ทันตแพทย์นิยมใช้เมื่อมีฟันผุหลายตำแหน่ง ทำให้ต้องรอการรักษาอย่างต่อเนื่องในอนาคต รวมถึงคนไข้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางทันตกรรม เมื่อทา SDF ลงไปจะทำให้ฟันผุหยุดการลุกลาม แต่จะมีลักษณะสีน้ำตาลดำ

คำถามที่พบบ่อยๆกับการเคลือบฟลูโอไรด์

ฟลูออไรด์ ปลอดภัยหรือไม่

ฟลูออไรด์จะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเมื่อใช้อย่างถูกต้อง เพราะฟลูออไรด์อาจเกิดอันตรายได้เมื่อใช้ปริมาณสูง หากมีการกลืนฟลูออไรด์ลงไปมาก ในเด็กเล็กอาจมีอาการคลื่นไส้ และอาจทำให้เกิดจุดบนฟันที่กำลังงอกขึ้นได้ กรณีนี้จึงควรปรึกษาทันตแพทย์ซึ่งจะสามารถแนะนำฟลูออไรด์ที่เหมาะสมกับเด็ก ๆ นอกจากนั้นควรตรวจสอบระบบน้ำที่มีการเติมฟลูออไรด์ลงไป เพื่อให้ทราบปริมาณฟลูออไรด์ว่าเหมาะสมหรือไม่ ผู้ปกครองควรตรวจตราการใช้ผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์ที่บ้าน รวมถึงยาสีฟัน และจัดเก็บฟลูออไรด์ชนิดเม็ดให้พ้นมือเด็กเล็ก

เคลือบฟลูออไรด์เสร็จแล้วต้องดูแลฟันยังไง

งดการรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม หรือสูบบุหรี่หลังการเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 30 นาที เพื่อเพิ่มการสัมผัสฟลูออไรด์ที่ฟันให้มากขึ้น มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้อย่างเต็มที่ รวมถึงต้องทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

ปริมาณฟลูออไรด์มากเท่าไหร่ถึงจะถือว่าเพียงพอแล้ว?

วิธีที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการคือ การตรวจปริมาณฟลูออไรด์ที่ขับออกมาทางปัสสาวะ แล้วนำมาคำนวณหาปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับต่อวัน โดยวัย และน้ำหนักที่ต่างกัน จะทำให้ร่างกายต้องการปริมาณฟลูออไรด์ที่ต่างกัน ในเด็กองค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณฟลูออไรด์ที่ควรได้รับในแต่ละวันอยู่ที่ 0-1 มิลลิกรัมต่อวัน การจะให้ฟลูออไรด์เสริมปริมาณเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก และความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำดื่ม น้ำปะปา

คลินิกทันตกรรม,คลินิกจัดฟัน, คลินิก จัด ฟัน ภูเก็ต, คลินิกทำฟัน ภูเก็ต, dental clinic, dental clinic phuket, phuket dental clinic, dental clinic near me, เช็กสุขภาพฟัน, สุขภาพช่องปาก
คลินิกทันตกรรม,คลินิกจัดฟัน, คลินิก จัด ฟัน ภูเก็ต, คลินิกทำฟัน ภูเก็ต, dental clinic, dental clinic phuket, phuket dental clinic, dental clinic near me, เช็กสุขภาพฟัน, สุขภาพช่องปาก
https://www.moto7.net/ https://www.mitaddelmundo.gob.ec/ https://efda.gov.et/ https://www.perkemi.org/ https://sigupenda.diknas-padang.org/ https://www.papdi.or.id/ https://www.mitaddelmundo.gob.ec/ https://pdamklungkung.co.id/ https://buletin.nscpolteksby.ac.id/ https://www.rhinoplas.co.id/author/min01/page/2/